คู่บารมี Cell Processor กับปริศนาชื่อที่แท้จริง nVidia RSX Reality Synthesizer
หลัง จากที่ nVidia ได้ร่วมวงพัฒนาเครื่องเล่นเกมส์ PlayStation อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปลายปี 2003 ในช่วงนั้นทาง STI ก็ได้ขอให้ทาง nVidia ได้พัฒนา GPU รุ่นพิเศษสำหรับ PlayStation 3 ให้ ในตอน แรกนั้น คุตารากิ ได้เลือก GeForce 7600GT ซึ่งเป็นกราฟิกชิพรุ่นกลางของ Series 7 มาเป็นตัวเลือก แรก แต่เนื่องจากจำนวน Pixel Processor ของ 7600GT มีเพียง 12 ชุด และ texture unit มีเพียง 4 ชุด เมื่อนำมาทดสอบการทำงานกับเครื่อง PowerMac G5 แล้ว พบว่าเมื่อต้องการรันเกมส์ที่ความละเอียด สูงกว่า 1280 x 1024 จุด 32 บิตสี 60Hz ไปแล้ว กราฟิกชิพรุ่นนี้ไม่สามารถจะรองรับการทำงานกับเกมส์ดังๆ
อาทิ Quake 4 , Unreal และหลายๆ เกมส์ได้ จึงเป็นอันว่าตัวเลือกแรกนี้สอบตกไปสำหรับ คุตารากิ
ต่อมาในช่วงปลายปี 2005 คุตารากิ จึงตัดสินใจเลือก GPU G71 ที่ทรงพลังที่สุดใน Series 7
(น่า จะเทียบได้กับ GeForce 7900GTX ในปัจจุบัน) มาเป็น GPU สำหรับ PlayStation 3 แทน แต่ลดช่อง ทางติดต่อข้อมูลจาก 256 บิตในเวอร์ชั่นกราฟิกการ์ดทั่วๆ ไป ลงเหลือ 128 บิต เพื่อให้สามารถทำงานกับ ทั้ง XDRAM และ GDDR3 ผ่านระบบ FlexIO ของ Rambus Inc. ได้อย่างราบรื่นและไม่มีปัญหาคอขวด
หลัง จากนั้น คุตารากิ ได้ลองใช้กราฟิกชิพตัวอย่างที่ nVidia ได้ส่งมาให้ทดสอบ เขาพบว่า แม้ความ สามารถของตัวกราฟิกชิพรุ่นใหม่ที่ได้รับจาก nVidia จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเกือบเท่าตัวจากรุ่น 7600GT แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับเขาและทีมงานที่ต้องการให้กราฟิกชิพรุ่นนี้แก้ไข ข้อบกพร่องที่แฟนๆ PlayStation ทั่วโลกคอมเมนต์มา
1. ต้องการแสดงภาพระดับ 1920 x 1080 p 60Hz บน HDTV
2. ต้องการให้แก้ปัญหา Anti Aliasing (รอยหยักของ Polygon)
3. ต้องการให้สีสันของภาพออกมาเหมือนภาพยนตร์ CG
4. ต้องการให้มีตัวละคร 3 มิติที่มีรายละเอียดเยอะๆ หลายตัวเคลื่อนไหวพร้อมๆ กันบนฉากอันอลังการ์
หลัง จากงาน International Solid-State Conference 2005 คุตารากิ ได้เชิญวิศวกรจาก nVidia มารับ ฟังแนวคิดของเขาที่ต้องการจะบรรจุสิ่งที่คล้ายกับ SPE ใน Cell Processor ลงไปในตัวกราฟิกชิพ G71 รุ่นพิเศษนี้ด้วย วิศวกรของทาง nVidia ได้รับลูกเอาแนวคิดอันบรรเจิดของ คุตารากิ ไปพัฒนากราฟิกชิพรุ่นพิเศษที่บรรจุจำนวน SME (Synergistic Multimedia Element) ลงไปจำนวน 6 ชุดเป็นตัวช่วย GPU รุ่นที่แรงที่สุดของ GeForce Series 7 ของ nVidia
และ เชื่อมทั้งหมดด้วยระบบบัสริงอย่างเดียวกับใน Cell Processor คือ E.I.B. (Elementary Interconnect Bus) ความกว้าง 1024 บิตเช่นกัน ทั้งหมด ทำงานที่ความเร็ว 550MHz เท่ากับตัว GPU หลัก ซึ่งเมื่อคุตารากิได้ลองทดสอบประสิทธิภาพของกราฟิกชิพรุ่นใหม่นี้ เขารู้สึกพึงพอใจในประสิทธิภาพของมันเป็นอย่างมาก และนี่เหนือไปกว่านั้นอีกระดับ เขาพบว่า แนวทางการเพิ่ม SME เข้าไปในตัว GPU นี้ทำให้ระบบโดยรวมของ PlayStation 3 สูงกว่า 2.1 TeraFlops ซึ่งสำหรับเขาแล้ว การเพิ่ม SME เข้าไปในตัว GPU เพียง 6 ตัวและทำงานที่ความเร็ว 550MHz ทำให้มันสามารถประมวลผลได้เร็วกว่า CPU Cell ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 3.2 GHz
ที่เขาภาคภูมิใจนักหนาเสียอีก แถมยังเห็นถึงโอกาสที่จะนำไปพัฒนา PlayStation รุ่นต่อไปในอนาคตอย่างแยบยล จากการทดสอบครั้งนี้อีกด้วย
และ ต่อมาเมื่อมีการเปิดตัว PlayStation 3 อย่างเป็นทางการ คุตารากิ เซอร์ไพรส์ผู้ชมนับหมื่นในงานเปิดตัวครั้งแรกในอเมริกาด้วยการเปิดเผยหลัง การประมวลผลของ Cell Processor นั้นอยู่ที่ 218G Flops เท่านั้นในขณะที่ RSX สามารถประมวลผลได้สูงถึง 1.8 TeraFlops เลยทีเดียว
หลังจาก PlayStation 3 ออกวางจำหน่าย คุตารากิ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนในญี่ปุ่นหลายครั้ง เขาให้ความเห็นเกี่ยวกับเกมส์ของเครื่อง PlayStation 3 ที่ออกมาวางจำหน่ายพร้อมการขายเครื่องหลายๆ เกมส์ว่า
" สำหรับผม ณ ปัจจุบันเกมส์ที่พัฒนาบน PlayStation 3 ช่วงแรกๆ ทั้ง SPE ใน Cell Processor และ SME ใน RSX ยังไม่ถูกเรียกเอาความสามารถที่แท้จริงออกมาใช้เลยแม้แต่เกมส์เดียว ที่เราเห็นกันทั่วไปเป็นเพียง การใช้ความสามารถในการประมวลผลของ PPE และ GPU อย่าง G71 โดยพื้นฐานเท่านั้น แต่มันก็พิสูจน์ให้คุณเห็นแล้วไม่ใช่เหรอว่า เกมส์ที่ออกมาของเรามีพลังเทียบเท่าคู่แข่ง(XBOX 360,Wii)และเหนือกว่ามาก
ด้วยในบางเกมส์ "
และนี่คืออีก 1 ในความสุดยอดเทคโนโลยีของ PlayStation 3 เครื่องเล่นเกมส์ขวัญใจทุกคนในบ้านครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น